ประวัติองค์กร
กองบริหารงานบุคคล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
อยู่ภายใต้การบริหารงานของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ซึ่งได้รับการจัดตั้งตามประกาศกระทรวงการแบ่งส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการ เดิมกองบริหารงานบุคคล เป็นหน่วยงานหนึ่งในฝ่ายธุรการ สำนักงานอธิการบดี ต่อมาได้แยกออกจาก ฝ่ายธุรการเป็น “ฝ่ายการเจ้าหน้าที่” โดยมีภารกิจหลัก คือ งานสรรหาบรรจุแต่งตั้งศึกษาต่อ งานทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบ งานพัฒนาระบบงานและอัตรากำลัง งานวินัยและนิติการ
14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” ใช้แทนชื่อ “วิทยาลัยครู” ทั่วประเทศ
25 มกราคม 2538 ประกาศใช้ “ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2538” สถาบันราชภัฏ ทั่วประเทศจึงเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”
6 มีนาคม 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน “ตราพระลัญจกร” คือตราใช้ประทับเอกสารส่วนพระองค์ใช้เป็นตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งสามสิบหกมหาวิทยาลัย รวมทั้งตราสัญลักษณ์ของสำนักงานสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ
10 มิถุนายน 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2547 ส่งผลให้ “สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี” ได้รับการยกฐานะ และปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็น “มหาวิทยาลัย” ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 เป็นต้นมา
หลักคุณธรรม เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลสามารถสนับสนุนบุคลากรให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน การบริหารทรัพยากรบุคคลจึงต้องยึดหลักคุณธรรม ดังนี้
1. การสรรหาและแต่งตั้งในระบบเปิด มีการแข่งขันจากภายในหรือภายนอกระบบราชการ
2. การบรรจุแต่งตั้งโดยยึดสมรรถนะ ผลงาน และความประพฤติ
3.การจ้างงานตามผลงานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการให้มีความก้าวหน้าในอาชีพตามสมรรถนะ ผลงาน และความประพฤติ มีโอกาสได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามศักยภาพ มีรายได้ที่เหมาะสมตามค่างาน และผลงาน ตลอดจนได้รับการปกป้องจากการใช้อำนาจโดยมิชอบของบังคับบัญชา
4.การตอบสนองความต้องการของประชาชนและนโยบายของรัฐบาลหัวหน้าส่วนราชการและผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้เป็นไปตามหลักคุณธรรมและมีความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณในกิจกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลหลัก
ภารกิจหลัก กองบริหารงานบุคคล สำนักงานอธิการบดี (Job Description)
1. ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับบริหารบุคคล
2. ให้บริการด้านการบริหารงานบุคคลอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเสมอภาค
3. มีการจัดระบบฐานข้อมูลที่รวดเร็ว ถูกต้อง และทันสมัย
4. พัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างมีระบบและต่อเนื่องตามเป้าหมายและนโยบายของมหาวิทยาลัย
5. ให้บริการและอำนวยความสะดวกด้านอื่นๆ แก่บุคลากรและหน่วยงาน ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย
เหตุผลความจำเป็นที่เกิดจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และผลดีของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นจะเห็นได้ว่าหน่วยงานควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างจริงจังไม่ควรคิดว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะเป็นการเสียเวลาหรืองบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ เพราะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละครั้ง บุคลากรจะเกิดความชำนาญในงานที่ทำมากขึ้น การพัฒนาบุคลากรจึงเป็นประโยชน์ต่อองค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวและนอกจากการให้ความสำคัญแล้วยังจำเป็นต้องมีการส่งเสริมในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอด้วย เพื่อให้องค์กรและบุคลากรมีความพร้อมในการับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้วย